การบำรุงรักษา เน้นความเชื่อถือได้

รหัสหนังสือ: 11305
ชื่อหนังสือ: #การบำรุงรักษา เน้นความเชื่อถือได้
ISBN #9789746861311
ผู้แต่ง เอ็มแอนด์อี บจ.
ขนาด 18.5 x 26.0 ซ.ม.
จำนวนหน้า 168
ผู้แต่ง สุภนิติ แสงธรรม
ราคา 300 บาท

หนังสือการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ (Reliability Centered Maintenance; #RCM ) มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์มาตลอดกว่า 40 ปี ช่วยเพิ่มความเชื่อถือได้ของเครื่องบิน ให้ทำการบินได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ RCM ยังถูกนำไปใช้กับหน่วยงานทางทหารของสหรัฐอเมริกา และในประเทศอื่นๆ ด้วย

ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและบริการทั่วโลกได้นำ RCM มาใช้ด้วยเช่นกัน เพื่อเพิ่มความเชื่อถือให้แก่สินทรัพย์ และช่วยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาสินทรัพย์เหมือนกับอุตสาหกรรมการบิน

หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเกิดความรู้ในการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถ และศักยภาพในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานทางด้านความมั่นคง ตลอดจนสนับสนุนการจัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิตของกรมโรงงานและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

สารบัญ
บทที่ 1 แนะนำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
1.1 การบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้คืออะไร
1.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อถือได้ของสินทรัพย์
1.3 ผลิตผลที่ได้จากการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
1.4 วิวัฒนาการของการบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์
1.5 ประวัติการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
1.6 เจ็ดคำถามพื้นฐานของการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
1.7 กระบวนการทำการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้
1.8 ประโยชน์ที่ได้รับจากการบำรุงรักษาเน้นความเชื่อถือได้

บทที่ 2 บริบทที่ใช้งาน
2.1 บริบทที่ใช้งานคืออะไร
2.2 บริบทที่ใช้งานควรจะเขียนเมื่อใด
2.3 บริบทที่ใช้งานจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

บทที่ 3 หน้าที่
3.1 ความสำคัญของการระบุหน้าที่
3.2 ประเภทของหน้าที่
3.3 ลักษณะของหน้าที่
3.4 มาตรฐานสมรรถนะ
3.5 การเขียนหน้าที่
3.6 การบันทึกหน้าที่

บทที่ 4 การล้มเหลวของหน้าที่
4.1 การล้มเหลวของหน้าที่คืออะไร
4.2 ลักษณะการล้มเหลวของหน้าที่
4.3 ขอบเขตจำกัดด้านบนและด้านล่าง
4.4 การบันทึกการล้มเหลวของหน้าที่

บทที่ 5 รูปแบบความเสียหาย
5.1 รูปแบบความเสียหายคืออะไร
5.2 การเขียนรูปแบบความเสียหาย
5.3 การระบุรูปแบบความเสียหาย
5.4 ระดับสาเหตุของรูปแบบความเสียหาย
5.5 หมวดหมู่รูปแบบความเสียหาย
5.6 การบันทึกรูปแบบความเสียหาย

บทที่ 6 ผลที่เกิดจากความเสียหาย
6.1 ผลที่เกิดจากความเสียหายคืออะไร
6.2 การระบุผลที่เกิดจากความเสียหาย
6.3 การบันทึกผลที่เกิดจากความเสียหาย

บทที่ 7 ผลพวงความเสียหาย
7.1 ผลพวงความเสียหายคืออะไร
7.2 แผนผังการตัดสินใจ RCM
7.3 ตารางการตัดสินใจ RCM
7.4 ผลพวงความเสียหายกับประเภทรูปแบบความเสียหาย
7.5 ผลพวงความเสียหายกับอุปกรณ์ป้องกันแบบปลอดภัยเมื่อชำรุด
7.6 ผลพวงความเสียหายกับอุปกรณ์ป้องกันแบบไม่ปลอดภัยเมื่อชำรุด
7.7 การประเมินผลพวงความเสียหาย
7.8 เกณฑ์การพิจารณาความคุ้มค่าของการบำรุงรักษา
7.9 การบันทึกผลพวงความเสียหาย

บทที่ 8 กลยุทธ์เชิงรุก
8.1 กลยุทธ์เชิงรุก
8.2 เกณฑ์การพิจารณาการบำรุงรักษาเชิงรุก
8.3 การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : การกำหนดเวลาเพื่อฟื้นฟู และการกำหนดเวลาเพื่อเปลี่ยนทิ้ง
8.4 การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ : การบำรุงรักษาตามสภาพ
8.5 การบำรุงรักษาแบบผสานกัน
8.6 การเลือกกลยุทธ์เชิงรุก
8.7 การบันทึกกลยุทธ์เชิงรุก

บทที่ 9 กลยุทธ์เพิกเฉย
9.1 การค้นหาความเสียหาย
9.2 การไม่กำหนดแผนการบำรุงรักษา
9.3 การออกแบบใหม่
9.4 การเลือกกลยุทธ์เพิกเฉย
9.5 การบันทึกกลยุทธ์เพิกเฉย

บทที่ 10 การตรวจสอบผลการวิเคราะห์และการนำไปใช้
10.1 การตรวจสอบผลการวิเคราะห์ RCM
10.2 ทำงานที่ทำเพียงครั้งเดียว
10.3 วางแผนการบำรุงรักษา

10.4 นำแผนการบำรุงรักษาไปใช้

บทที่ 11 การทำ RCM ให้ประสบผลสำเร็จ

11.1 หาผู้นำโครงการและผู้สนับสนุนโครงการ RCM

11.2 เลือกทำ RCM ที่สอดคล้องตามมาตรฐาน

11.3 ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ RCM

11.4 วางแผนโครงการนำร่อง

11.5 ฝึกอบรม RCM ระดับเบื้องต้น

11.6 ทำการวิเคราะห์ RCM

11.7 ตรวจสอบผลการวิเคราะห์ RCM

11.8 รายงานผลการวิเคราะห์ RCM

11.9 นำไปใช้

ภาคผนวกที่ 1 เทคนิคการตรวจสอบสภาพ

ภาคผนวกที่ 2 คำถามและคำตอบที่พบบ่อยเกี่ยวกับ RCM

อภิธานศัพท์

บรรณานุกรม