รหัสหนังสือ: 12017 ชื่อหนังสือ: การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
ISBN: 9746860771
ผู้แต่ง: ชลขัย ธรรมวิวัฒนุกูร
ขนาด: 18.5 x 26.0 ซ.ม.
จำนวนหน้า: 498
กระดาษ: ปอนด์
ราคา 470 บาท
ลดพิเศษ 50% เหลือ 235 บาท
หนังสือการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้านี้ ได้เรียบเรียงเนื้อหาที่ผู้ออกแบบ และควบคุมงานติดตั้งระบบไฟฟ้าควรจะทราบ ตั้งแต่ ความรู้เบื้องต้น, สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง, อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน, การออกแบบสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า, การคำนวณโหลด, การคำนวณกระแสลัดวงจร, การต่อลงดิน, เครื่องตัดไฟรั่ว, การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า และอาคารชุด ซึ่งยึดถือตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยฉบับใหม่
หนังสือนี้เหมาะสำหรับเป็นคู่มืออ้างอิงในการปฏิบัติงานของผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา ผู้ตรวจสอบไฟฟ้า ตลอดจนใช้ประกอบการเรียนของนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
สำหรับจุดเด่นของหนังสือนี้ก็คือ อ้างอิงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย ของ วสท., มีรูปตัวอย่างประกอบการคำนวณอย่างละเอียด, รูปประกอบชัดเจน ตลอดจนอธิบายถึงวิธีที่ผิด และวิธีที่ถูก, และมีคำอธิบายที่ชัดเจน เช่น เรื่องการลดขนาดสายนิวทรัล (มีการใช้เวคเตอร์ประกอบการอธิบาย)
สารบัญ
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปก่อนการออกแบบ
1.1 มาตรฐาน
1.2 การป้องกันอันตรายทางกลของอุปกรณ์ไฟฟ้า
1.3 ระบบจำหน่ายไฟฟ้า
1.4 แบบและสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
1.5 สวิตซ์
1.6 ที่ว่างเพื่อการปฏิบัติงานสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้า
บทที่ 2 สายไฟฟ้า
2.1 มาตรฐานสายไฟฟ้า
2.2 สายไฟฟ้าสำหรับงานติดตั้ง
2.3 การพิจารณาเลือกใช้สายไฟฟ้า
2.4 ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการติดตั้ง
บทที่ 3 อุปกรณ์สำหรับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า
3.1 ท่อร้อยสายไฟฟ้า
3.2 รางเดินสายไฟฟ้า
3.3 รางเคเบิล
บทที่ 4 อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
4.1 สภาวะผิดปกติในระบบไฟฟ้า
4.2 ฟิวส์
4.3 ชนิดของฟิวส์ตามมาตรฐาน NEC
4.4 ชนิดของฟิวส์ตามมาตรฐานยุโรป
4.5 กราฟคุณลักษณะสมบัติของฟิวส์
4.6 เซอร์กิตเบรกเกอร์
4.7 มาตรฐานของเซอร์กิตเบรกเกอร์
4.8 การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
4.9 การเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินในแผงจ่ายระบบไฟฟ้า
4.10 การใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์สวิตซ์ในวงจรย่อยแสงสว่าง
บทที่ 5 วงจรย่อย,สายป้อนและระบบประธาน
5.1 วงจรย่อย
5.2 สายป้อน
5.3 การลดขนาดสายนิวทรัล
5.4 ระบบประธาน
5.5 การพิจารณาเลือกสายประธานและอุปกรณ์ป้องกัน
5.6 สายประธานสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า
5.7 อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินสำหรับหม้อแปลงไฟฟ้า
บทที่ 6 การออกแบบสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้า
6.1 ส่วนประกอบของวงจรมอเตอร์ไฟฟ้า
6.2 พิกัดกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์ไฟฟ้า
6.3 การพิจารณาขนาดสายไฟฟ้าสำหรับวงจรมอเตอร์
6.4 การป้องกันการลัดวงจร
6.5 การป้องกันเนื่องจากภาระโหลดเกิน
6.6 เครื่องควบคุมมอเตอร์
6.7 วงจรควบคุมมอเตอร์
6.8 เครื่องปลดวงจรมอเตอร์
6.9 แบบฟอร์มการคำนวณมอเตอร์ไฟฟ้า
6.10 สายดินสำหรับวงจรย่อยมอเตอร์
บทที่ 7 การคำนวณโหลด
7.1 การคำนวณโหลดวงจรย่อย
7.2 การคำนวณโหลดสายป้อน
7.3 การคำนวณโหลดโดยวิธีการรวมโหลด
7.4 การคำนวณโหลดตามมาตรฐาน NEC
7.5 การคำนวณโหลดสำหรับอาคารอยู่อาศัยตามมาตรฐาน NEC
7.6 การคำนวณโหลดสำหรับอาคารไม่ใช้อยู่อาศัยตามมาตรฐาน NEC
บทที่ 8 การคำนวณกระแสลัดวงจร
8.1 การคำนวณกระแสลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้า
8.2 กระแสเสริมจากมอเตอร์ไฟฟ้า
8.3 กระแสลัดวงจรที่จุดใดๆ ในระบบไฟฟ้า
8.4 การคำนวณกระแสลัดวงจรด้วยตาราง
8.5 การเลือกพิกัดกระแสลัดวงจรสำหรับอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน
บทที่ 9 การต่อลงดินและเครื่องตัดไฟรั่ว
9.1 อันตรายจากไฟฟ้า
9.2 การต่อลงดิน
9.3 ส่วนประกอบของระบบการต่อลงดิน
9.4 การต่อลงดินสำหรับระบบสายประธานภายในอาคาร
9.5 หลักดินชนิดแท่งทองแดง
9.6 เครื่องตัดไฟรั่ว
9.7 ข้อควรระวังในการติดตั้ง
บทที่ 10 ระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารชุด
10.1 ระบบเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าสำหรับอาคารชุด
10.2 รูปแบบการจ่ายไฟฟ้าสำหรับอาคารชุด
10.3 การคำนวณโหลด
10.4 เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของห้องชุด
10.5 การป้องกันกระแสเกินของเครื่องวัดฯ
10.6 สายตัวนำประธานเข้าห้องชุด
10.7 การคำนวณโหลดเพื่อหาขนาดสายป้อนและเครื่องป้องกันกระแสเกิน
10.8 การคำนวณโหลดเพื่อนำไปหาขนาดหม้อแปลง
บทที่ 11 การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
11.1 ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
11.2 ผลของค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าต่ำ
11.3 วิธีการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้น
11.4 วิธีคำนวณหาขนาดคาปาซิเตอร์
11.5 ประโยชน์ที่ได้รับจากการปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
11.6 การลงทุนติดตั้งคาปาซิเตอร์
11.7 ตำแหน่งการติดตั้งคาปาซิเตอร์
11.8 การควบคุมตัวประกอบกำลังไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ
11.9 การออกแบบสำหรับสถานประกอบการ
11.10 ขนาดและพิกัดของอุปกรณ์ประกอบการติดตั้งคาปาซิเตอร์
บทที่ 12 ตัวอย่างการคำนวณ
บทที่ 13 ตัวอย่างการออกแบบระบบไฟฟ้า
13.1 ข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน
13.2 โหลดเครื่องจักรของอาคารโรงงานและสำนักงาน
13.3 โหลดงานระบบเครื่องกลไฟฟ้า
13.4 โหลดแสงสว่าง
13.5 โหลดเต้ารับ
13.6 การจัดกลุ่มของโหลด
13.7 การจัดทำตารางโหลด
13.8 การปรับปรุงตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
13.9 การคำนวณกระแสลัดวงจร