รหัสหนังสือ: 11304 ชื่อหนังสือ: เทคนิคการวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน เพื่องานบำรุงรักษา
ISBN: 9789746861021
ผู้แต่ง: วินัย เวชวิทยาขลัง
พิมพ์ครั้งที่ : 2/2555
ขนาด: 18.5 x 26.0 ซ.ม.
จำนวนหน้า: 250
ราคา 490 บาท
หนังสือ “เทคนิคการวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน เพื่องานบำรุงรักษา” เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ตรง กว่า 30 ปีของผู้เขียน จากที่ได้ศึกษาและได้รับการอบรม และทำงานด้านการจัดทำระบบบำรุงรักษา การให้บริการงานทางด้านเทคนิค การตรวจวัดสุขภาพเครื่องจักร การให้คำแนะนำและการแก้ไขปัญหา รวมถึงการจัดฝึกอบรมให้กับสถาบันต่างๆ ทั้งเอกชน และรัฐวิสาหกิจ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย นำมาจัดทำเป็นหนังสือนี้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานในระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นคง ความน่าเชื่อถือ (Reliability) และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือนเครื่องจักรได้เป็นส่วนหนึ่งในระบบ บำรุงรักษาพยากรณ์ (Predictive Maintenance) เป็นเทคนิควิธีที่มีความทันสมัย และมีความเหมาะสมอย่างยิ่งในปัจจุบัน โดยมีการเฝ้าติดตามแนวโน้มการเสื่อมสภาพของเครื่องจักร จากการใช้เครื่องมือตรวจวัด แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติ ทำให้สามารถทำนายอายุการใช้งานเครื่องจักรได้ และสามารถวางแผนเพื่อเตรียมการซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้อง ก่อนที่เครื่องจักรจะเกิดความเสียหายขึ้นจนส่งผลกระทบจนทำให้ต้องหยุดระบบ การผลิต
การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือนช่วยให้สามารถวินิจฉัยปัญหาหรือความผิด ปกติต่างๆ ของเครื่องจักรได้ครอบคลุมเกือบทุกปัญหา ทั้งสาเหตุที่เกิดขึ้นในทางกล และไฟฟ้า เช่น ความผิดปกติจากการประกอบ การไม่สมล (Unbalance) การติดตั้งไม่ตรงแนวศูนย์ (Misalignment) การสึกหรอหลวมคลาย แบริ่งเสียหาย เฟืองเกียร์ชำรุด การไหลของของไหลผิดปกติ การเกิดเรโซแนนซ์ (Resonance) ความผิดปกติของมอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในตอนท้ายของหนังสือนี้ ยังได้กล่าวถึงการจัดทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการวัดวิเคราะห์การสั่นสะเทือนได้หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่องานระบบบำรุงรักษา สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรม ทุกฝ่าย ทุกระดับ ตลอดจนสถาบันการศึกษา เพื่อทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ มีการพัฒนาระบบ ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
สารบัญ
บทที่ 1 ความเข้าใจเรื่องการสั่นสะเทือน
ความหมาย ของการสั่นสะเทือน, อันตรายของการสั่นสะเทือน, หลักการวัดวิเคราะห์การสั่นสะเทือน, ความสัมพันธ์ของระยะทาง ความเร็ว
และความเร่ง, ประเภทของการสั่นสะเทือน, สาเหตุที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน
บทที่ 2 หลักการและความหมายในการวัด-วิเคราะห์การสั่นสะเทือน
– การเคลื่อนที่กลับไป-กลับมา
– ขนาดการสั่นสะเทือน (ระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง), การเปลี่ยนแปลงขนาดการสั่นสะเทือน
– ความถี่, คาบ, เฟส, ความถี่ธรรมชาติ, เรโซแนนซ์, ความเร็ววิกฤติ
– คุณสมบัติการสั่นสะเทือนของวัสดุ
– ลักษณะการเคลื่อนที่
– การสั่นสะเทือนโดยรวม
บทที่ 3 การวัดค่าขนาดการสั่นสะเทือน์
– ค่าสูงสุด Peak หรือแอมปลิจูด
– ค่าสูงสุดบน ต่ำสุดล่าง Peak to Peak (หรือดับเบิลแอมปลิจูด)
– ค่าเฉลี่ย RMS หรือค่า Effective Value
– อัตราส่วนพีค, การวิเคราะห์ความเสียหายตลับลูกปืนด้วยอัตราพีค
– ค่าเฉลี่ย
– ค่า Form Factor
– ค่าการสั่นสะเทือนโดยรวม
– เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน (หลักการทำงาน ส่วนประกอบ เครื่องมือวัดฯ แต่ละแบบ)
บทที่ 4 หัววัดการสั่นสะเทือน
– หัววัดแบบไร้สัมผัส (Non Contact, Eddy Current or Proximity Transducers)
– หัววัดการสั่นสะเทือนชนิดความเร็ว (Seismic Velocity Pickup, Moving Coil Type)
– หัววัดการสั่นสะเทือนชนิดความเร็ว แบบปลายก้านสัมผัสโดยตรง
– หัววัดการสั่นสะเทือนชนิดความเร็ว แบบผลึก (Seismic Velocity Pickup, Piezoelectric)
– หัววัดการสั่นสะเทือนชนิดความเร่ง (Planar Shear, Delta Shear, Compression)
– เปรียบเทียบความไว (Sensitivity) และย่านความถี่ (Frequency) ของหัววัดทิศทางการรับสัญญาณของหัววัด
บทที่ 5 การจับยึดหัววัดการสั่นสะเทือน
– จับยึดด้วยคีมล็อกจับชิ้นงาน, สัมผัสบนเพลาหมุน, สลักเกลียว, กาว Epoxy, ขี้ผึ้ง, เทปกาวสองหน้า, แม่เหล็ก, ใช้มือกด
– เปรียบเทียบย่านความถี่การจับยึดหัววัด
– เรโซแนนซ์ในหัววัด
– ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม
บทที่ 6 ตำแหน่งตรวจวัดวิเคราะห์การสั่นสะเทือน
– จำนวนจุดตรวจวัด
– การวิเคราะห์สาเหตุเครื่องจักรสั่นสะเทือนผิดปกติ
– ทิศทางการตรวจวัดวิเคราะห์เครื่องจักรสั่นสะเทือนผิดปกติ
– การทำเครื่องหมายจุดวัด
– จุดวัดการสั่นสะเทือนบนเครื่องจักร (มอเตอร์, มอเตอร์ขนาดใหญ่, ปั๊มหอยโข่ง, ปั๊มแบบเกลียว, ลูกกลิ้ง, ลูกกลิ้งอัดรีด, เกียร์บ๊อกซ์, เครื่อง
จักรประเภทลูกสูบ, เครื่องกลึง, เครื่องปั๊ม-อัด, พัดลม, หม้อบด, แก๊สเทอร์ไบน์, เครื่องบิน, อาคาร)
บทที่ 7 มาตรฐานการวิเคราะห์ความรุนแรงการสั่นสะเทือน
– เกณฑ์การตัดสินใจซ่อม แก้ไขปัญหาผิดปกติ (วิเคราะห์จากแนวโน้ม, เกณฑ์กำหนดจากผู้ผลิตเครื่องจักร, เปรียบเทียบกับเครื่องจักรที่
เหมือนกัน, เกณฑ์กำหนดจากมาตรฐานสากล เช่น ISO 2372-1974 (E), VDI 2056, CDA / MA / NVSH 107, JIS B 8330, ISO 2631-1978
ระดับความรุนแรงการสั่นสะเทือนของร่างกาย, การป้องกันและการควบคุมอันตรายจากการสั่นสะเทือน)
– ตารางมาตรฐานเปรียบเทียบ (ความเร่ง และความเร็ว)
– ตรวจวัดความเสียหายแบริ่งตลับลูกปืนโดยการวัดการสั่นสะเทือน
– ตารางเปรียบเทียบจากการสั่นสะเทือนโดยรวม
– เปรียบเทียบจากอัตราส่วนพีค (Peak Ratio), เปรียบเทียบจากค่าสูงสุดกับค่าเฉลี่ย
– ระดับการสั่นสะเทือนปกติของเครื่องมือกล
– ตารางมาตรฐาน ISO 10816-3
– การวางแผนการตรวจวัด และแบบฟอร์ม ตารางตัวอย่างบันทึกค่าตรวจวัดการสั่นสะเทือน
บทที่ 8 วิเคราะห์สาเหตุผิดปกติ (จากการวัดค่าขนาดการสั่นสะเทือนโดยรวม)์
– การสั่นสะเทือนระดับใด ดี, แย่, ต้องแก้ไข
– วิเคราะห์สาเหตุผิดปกติได้อย่างไร
– ซอฟฟุตคืออะไร
– การวิเคราะห์สาเหตุการสั่นสะเทือนเครื่องจักรผิดปกติ (สาเหตุจากการไม่สมดุล, ไม่ตรงแนวศูนย์, การหลวมคลาย, แบริ่งตลับลูกปืน)
บทที่ 9 การวิเคราะห์ความถี่สเปกตรัมการสั่นสะเทือนผิดปกติของเครื่องจักร
– FFT คือ อะไร
– การจำแนกคลื่นความถี่การสั่นสะเทือน
– ความหมายของคลื่นเวลา (Time Domain) และคลื่นความถี่สเปกตรัม (Frequency Domain)
– การวิเคราะห์มุมเฟส (การสั่นสะเทือน, โครงสร้างแท่นรองรับเครื่องจักร)
– หลักการวิเคราะห์ความถี่สเปกตรัมการสั่นสะเทือนผิดปกติ
บทที่ 10 วิเคราะห์ความถี่สเปกตรัม การสั่นสะเทือนผิดปกติ
– การไม่สมดุล และการเยื้องจุดศูนย์กลาง, การติดตั้งเครื่องจักรไม่ตรงแนวศูนย์ (Misalignment)
– การสึกหรอ การหลวมคลาย การจับยึดไม่แน่น แท่นรองรับไม่แข็งแรง
– การชำรุด เสียหายของแบริ่งเม็ดหมุน (Rolling Element), แบริ่งกาบ, บูช (Journal Bearing), เกียร์
– การลื่น สลิปเสียดสี (Rotor Rub)
– สายพานส่งกำลัง (V-Belt)
– การสั่นสะเทือนเสริมแทรก (Beat)
– ปั๊ม (Pump), ไฟฟ้า (Motor)
– เรโซแนนซ์ (Resonance)
– เครื่องจักรประเภทลูกสูบ
บทที่ 11 อุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือน และแรงกระแทก
– ลักษณะการใช้งาน
– ประเภทของอุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือนและแรงกระแทก (ขดลวดสลิงลดการสั่นสะเทือน, ยางลดการสั่นสะเทือน, ถุงยางลม, สปริงขด)
– การลดแรงกระแทก (วิธีการและตัวอย่างของอุปกรณ์ลดแรงกระแทก)
บทที่ 12 การจัดทำระบบบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์
– ระบบการบำรุงรักษาทั่วไปในโรงงาน (Breakdown Maintenance, Preventive Maintenance, Predictive Maintenance)
– จะตรวจสุขภาพเครื่องจักรได้อย่างไร, ความพร้อมสมบูรณ์และการเสื่อมสภาพเครื่องจักร
– จุดเริ่มต้นการทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์, วิธีการ, องค์ประกอบสำคัญของระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
– เทคนิคการวิเคราะห์สุขภาพเครื่องจักร (การวิเคราะห์น้ำมันหล่อลื่น, เครื่องมือวัดความร้อน, เครื่องมือฟังเสียงระบบอิเล็กทรอนิกส์, เครื่อง
มือตรวจสภาพตลับลูกปืน, เครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน)
– การทำนายอายุใช้งานเครื่องจักร
– ขอบเขต ขั้นตอนการจัดทำระบบบำรุงรักษาพยากรณ์
– แนวทางเปรียบเทียบการลงทุนกับผลที่จะได้รับ
– การคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุนจัดทำระบบ