รหัสหนังสือ: 13105 ชื่อหนังสือ: การผลิตน้ำสำหรับอุตสาหกรรม
ISBN:9746860744
ผู้แต่ง: อ.ไพศาล วีรกิจ
ขนาด: 18.5 x 26.0 ซ.ม.
จำนวนหน้า: 322
กระดาษ: ปอนด์
ราคา 230 บาท
น้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการผลิตต่างๆ ในอุตสาหกรรม มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง มีการปรับปรุงคุณภาพ ให้ได้ตามข้อกำหนดในแต่ละกระบวนการ เพราะถ้าหากน้ำมีคุณภาพ ไม่เหมาะสมแล้ว ย่อมก่อปัญหาในการผลิตตามมาอีกมากมาย
น้ำที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตนั้น อาจจะนำมาจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น บึง, แม่น้ำ, บาดาล, ทะเล ฯลฯ ซึ่งคุณสมบัติของน้ำแต่ละแห่งย่อมแตกต่างกัน มีสิ่งเจือปนไม่เหมือนกัน ดังนั้นกรรมวิธีที่ใช้ปรับปรุงคุณภาพน้ำ จึงแตกต่างกันด้วย หรือถ้าหากเป็นกรรมวิธีเดียวกัน แต่ก็อาจจะมีขั้นตอนต่างๆ เช่น การกรอง การเติมสารเคมี ที่ต่างกันด้วย
ดังนั้นการได้รู้จักกรรมวิธีผลิตน้ำแต่ละแบบ ย่อมเป็นแนวทางที่ดี สำหรับผู้ที่ต้องดูแล หรือผู้ออกแบบเกี่ยวกับการผลิตน้ำ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรม ว่าวิธีใดจะเกิดความเหมาะสมที่สุด ตลอดจนเป็นแนวทาง การวางแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดการกัดกร่อน การเกิดตะกรัน ฯลฯ อันเนื่องมาจากสภาพของน้ำ
หนังสือ “การผลิตน้ำสำหรับอุตสาหกรรม” เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้รู้จักกรรมวิธีผลิต และการปรับปรุงคุณภาพน้ำชนิดต่างๆ เริ่มตั้งแต่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำ, คุณภาพของน้ำที่จะใช้ในอุตสหกรรมเป็นอย่างไร, การตกตะกอน-การกวน-เติมสารเคมี, การกรอง, การกำจัดก๊าซที่ละลายน้ำ, การกำจัดเหล็ก และแมงกานีส, การลดความกระด้าง โดยวิธีเติมสารเคมี, การผลิตน้ำอ่อนด้วย Ion Exchang Resins, การผลิตน้ำบริสุทธิ์ด้วย Ion Exchang Resins, การกรองน้ำโดยเมมเบรน, การผลิตน้ำโดยวิธีอื่นๆ, การเลือกระบบผลิตน้ำ ที่เหมาะสมกับการใช้งาน, การป้องกันการเกิดสนิม และตะกรัน, วิธีเติมสารเคมี, การจัดการน้ำเสีย และตะกอนจากระบบผลิตน้ำ
สารบัญ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น
1.1 บทนำ
1.2 ประเภทของแหล่งน้ำ
1.3 สารปนเปื้อนในน้ำ
1.4 หน่วยต่างที่ใช้ในระบบการผลิตน้ำ
1.5 การเปลี่ยนแปลงค่าของสารประจุบวกลบ
บทที่ 2 คุณภาพน้ำสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ
2.1 บทนำ
บทที่ 3 การตกตะกอนและการทำให้น้ำใส
3.1 บทนำ
3.2 สารเคมีที่ใช้ในการผสม
3.3 การกวนเร็ว
3.4 การกวนช้า
3.5 การตกตะกอน
บทที่ 4 การกรองน้ำ
4.1 บทนำ
4.2 ลักษณะและประเภทของการกรอง
4.3 ประเภทของถังกรอง
4.4 ส่วนประกอบของถังกรอง
4.5 การกรองเพื่อกำจัดสารแขวนลอย
4.6 การกรองเพื่อดูดซึม
บทที่ 5 การกำจัดก๊าซที่ละลายน้ำ
5.1 บทนำ
5.2 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
5.3 ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า)
5.4 ก๊าซแอมโมเนีย
5.5 ก๊าซออกซิเจน
5.6 ก๊าซอื่นๆ
5.7 กฎของก๊าซ
5.8 การกำจัดก๊าซออกจากน้ำโดยการเป่าด้วยอากาศ
5.9 การกำจัดก๊าซออกซิเจนออกจากน้ำ
5.10 การกำจัดก๊าซละลายน้ำโดยการเติมสารเคมี
บทที่ 6 การกำจัดเหล็กและแมงกานีส
6.1 บทนำ
6.2 การเติมอากาศ/ออกซิเจน เพื่อกำจัดเหล็กและแมงกานีส
6.3 การเติมเคมีเพื่อกำจัดเหล็กและแมงกานีส
6.4 การกำจัดเหล็กและแมงกานีสด้วยการกรองโดยตรง
6.5 การเติมเคมีให้เหล็กและแมงกานีสอยู่ในสภาพละลายน้ำ
บทที่ 7 การลดความกระด้างโดยวิธีเติมสารเคมี
7.1 ความรู้เรื่องความกระด้าง
7.2 กระบวนการลดความกระด้าง
7.3 การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการลดความกระด้าง
7.4 ส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับระบบลดความกระด้าง
7.5 ผลพลอยได้จากการใช้กระบวนการลดความกระด้างแบบเติมสารเคมี
บทที่ 8 การผลิตน้ำอ่อนด้วย Ion Exchange Resins
8.1 ความรู้เบื้องต้น
8.2 ชนิดของ Ion Exchange Resins
8.3 การขยายตัวของ Ion exchange
8.4 ลำดับการแลกเปลี่ยนประจุของ Ion exchange
8.5 อายุการใช้งานของ Ion exchange
8.6 การกำจัดความกระด้างโดย Sodium cation resin
8.7 ขั้นตอนการทำงานของ Water softener
8.8 ข้อมูลจากผู้ผลิต Sodium cation resin
8.9 การออกแบบ Water softener
8.10 การกำจัด Alkalinity (Dealkalization)
บทที่ 9 การผลิตน้ำบริสุทธิ์ด้วย Iron Exchange Resins
9.1 บทนำ
9.2 ประเภท Ion Exchange ที่ใช้
9.3 การพิจารณาเลือกใช้ชนิดของ Iron Exchange Resins
9.4 การล้างระบบ Demineralization
9.5 การล้างระบบ Demineralization และ Mixed Bed
9.6 การควบคุมและการเดินระบบ Demineralization
9.7 วัสดุที่ใช้ในระบบ Demineralization
9.8 การกักเก็บน้ำบริสุทธิ์
9.9 ระบบ Demineralization ที่ได้รับความนิยม
9.10 ส่วนประกอบของระบบ Demineralization
9.11 การคำนวณออกแบบระบบ Demineralization
บทที่ 10 การกรองน้ำโดยเมมเบรน
10.1 บทนำ
10.2 ประเภทของเมมเบรนสำหรับการกรอง
10.3 หลักการกรองของ Reverse osmosis
10.4 วัสดุของ RO เมมเบรน
10.5 รูปแบบของเมมเบรน
10.6 การเตรียมคุณภาพน้ำดิบสำหรับ RO เมมเบรน
10.7 ระบบ RO และส่วนประกอบ
10.8 การออกแบบระบบ RO
10.9 ปัญหาของระบบ RO และการแก้ไข
10.10 ประเภทการอุดตันและการล้าง RO เมมเบรน
บทที่ 11 การผลิตน้ำโดยวิธีอื่นๆ
11.1 บทนำ
11.2 Electrodialysis และ Electrodialysis Reversal
11.3 การทำงานของระบบ EDR และ ED
11.4 ชนิดและคุณสมบัติของเมมเบรน
11.5 การระเหย และการกลั่น
บทที่ 12 การเลือกระบบผลิตน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน
12.1 บทนำ
12.2 ข้อมูลที่ต้องใช้ในการเลือกระบบ
12.3 ระบบผลิตน้ำสำหรับหม้อน้ำร้อนและหม้อไอน้ำ
12.4 ระบบผลิตน้ำสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
12.5 ระบบผลิตน้ำสำหรับการผลิตยา
12.6 ระบบผลิตน้ำสำหรับผลิตภัณฑ์เคมี
12.7 ระบบผลิตน้ำสำหรับน้ำดื่มบรรจุขวด
12.8 ระบบผลิตน้ำสำหรับผสมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
บทที่ 13 การป้องกันการเกิดสนิมและตะกรัน
13.1 บทนำ
13.2 ทฤษฎีการเกิดสนิม
13.3 ตัวประกอบที่ทำให้เกิดสนิม
13.4 การเกิดตระกัน
13.5 ดัชนี Langller และ Ryznar
13.6 การป้องกันสนิมเกิดจากก๊าซละลายน้ำ
13.7 การป้องกันตะกรันเกิดจากสารแขวนลอย
13.8 การป้องกันตะกรันเกิดจากสารจุลชีพ
13.9 การป้องกันสนิมและตะกรันในหม้อไอน้ำ
บทที่ 14 วิธีเติมเคมีให้กับระบบผลิตน้ำ
14.1 บทนำ
14.2 สารเคมีที่ใช้ในระบบผลิตน้ำ
14.3 การเก็บ/เตรียมสารเคมี และระบบการเติมสารเคมี
14.4 ปั๊มและฟีดเดอร์ที่ใช้ในการเติมเคมี
14.5 การควบคุมระบบการเติมสารเคมี
14.6 การคำนวณหาอัตราการเติมเคมีและการเตรียมสารละลาย
14.7 ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับระบบเติมสารเคมี
บทที่ 15 การจัดการน้ำเสียและตะกอนจากระบบผลิตน้ำ
15.1 บทนำ
15.2 ระบบการตกตะกอนและการทำให้น้ำใส
15.3 ระบบการกรองน้ำ
15.4 ระบบการกำจัดเหล็กและแมงกานีส
15.5 ระบบการลดความกระด้างโดยวิธีเติมสารเคมี
15.6 ระบบการผลิตน้ำด้วย Ion Exchange Resins
15.7 ระบบการผลิตน้ำโดยเมมเบรน
15.8 แนวทางการลดปริมาณน้ำเสียจากระบบการผลิตน้ำ